กำลังโหลดข้อมูล กรุณารอสักครู่ ...

นิเทศออนไลน์

กลุ่มนิเทศติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สพป.ขอนแก่น เขต 1

Access มุมสมาชิก
 
Access to management
User
Password
ประเภท
 

ขณะนี้ออนไลน์: 1 คน

สถิติวันนี้:      64 คน

สถิติเดือนนี้:   1586 คน

สถิติปีนี้:        6800 คน

สถิติทั้งหมด: 80328 คน

 
TV Online    
 
 
ไทยรัฐ | เดลินิวส์ | มติชน| คม ชัด ลึกห้องสมุดรอบโลก
 
 

เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ จากโครงการ English We Can


เมื่อ [2021-05-29 03:10:43]

Techniques for teaching English from the English We Can project 

By Khru Htkamon Duangmanee

Sripachanukul Kindergarten School, Sisaket Province

 

“Rome wasn't built in a day,” this statement gave a deep meaning to the heart. "Many martial teachers" to realize that Teaching students to be successful is not easy. If you have to persistently build, add, improve, and care for today, just as the world has the great Rome to admire at the destination ahead. Teachers will have success in teaching, waiting to be joyful.

 

จากการได้เข้าร่วมในโครงการ English We Can โดย ทรูปลูกปัญญา ให้ ดิฉันได้รับความรู้มากมาย ที่จะนำมาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาทิ ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เกม และตัวอย่างกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับการสอนในแต่ละประเภท การใช้สื่อต่างๆ กระบวนการตรวจสอบความรู้ที่เน้นการเชื่อมโยงไปสู่การคิด วิเคราะห์ ความกล้าแสดงออก และมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในห้องเรียน รวมถึงวิธีการสรุป สร้างสรรค์ และปรับเปลี่ยนแนวการสอนของตนเองให้เหมาะกับบริบทของโรงเรียนและนักเรียนของ ตนเองอีกด้วย สิ่งที่ดิฉันประทับใจ และคิดว่าเป็นประโยชน์มากสำหรับการจัดกิจกรรมทุกกิจกรรมในห้องเรียนให้ประสบ ผลสำเร็จ คือ Setting Up Activity ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ www.trueplookpanya.com คลังความรู้คู่คุณธรรมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

 

Setting up Activity

1. Instruction for seating/Grouping

จัดกลุ่มก่อนเริ่มกิจกรรมเพื่อคละนักเรียนที่มีความ สามารถแตกต่างกัน ให้เกิดการช่วยเหลือดูแลกันและเป็นการจัดกลุ่ม/จำนวนนักเรียนให้เหมาะสมกับ กิจกรรม อาจทำได้โดยการนับ กำหนดรหัส ติดหมายเลขไว้ที่โต๊ะ ร้องเพลง เล่นเกมจับกลุ่ม เป็นต้น

 

2. Instructions for activity

เมื่อนักเรียนนั่งเป็นกลุ่มแล้ว ครูอธิบาย เกม หรือขั้นตอนกิจกรรม

 

3. Demonstrate

ยกตัวอย่าง / สาธิตกิจกรรม โดยเลือกนักเรียนที่มีทักษะทางภาษาอังกฤษที่ดี หรือ ผู้ที่ครูพิจารณาแล้วว่าเข้าใจกิจกรรมนั้นดีที่สุดออกมาสาธิตให้เพื่อนๆ ดู

 

4. Elicit useful language 

ตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่คำตอบที่นักเรียนไม่เข้าใจ เมื่อทำกิจกรรม เช่น การถามนักเรียนว่าถ้าสะกดไม่ถูก จะขอให้เพื่อนสะกดให้ พูดว่าอย่างไร ถ้าได้ยินไม่ชัดจะขอให้พูดซ้ำจะพูดว่าอย่างไร เป็นต้น

 

5. Check your understanding

ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนว่านักเรียนเข้าใจขั้นตอน กิจกรรม หรือวิธีการเล่นเกมหรือไม่ ซึ่งต้องไม่ใช่การอธิบายซ้ำ แต่เป็นการตั้งถามเกี่ยวกับข้อสรุปของกิจกรรมหรือเกมนั้นๆ

 

6. Handout materials

แจกใบงาน/สื่อ/ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

หมายเหตุ ครูควรใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารให้ได้มากที่สุดในทุกขั้นตอน

 

After Activity

ทุกครั้งหลังจากจบกิจกรรมครูผู้สอนควรตั้งคำถามเพื่อการพัฒนาตนเอง ดังนี้

1. Did you enjoyed this activity/ why / why not?

คุณสนุกกับกิจกรรมที่ทำหรือไม่

2. Could you do this activity with all of your learners? นำไปใช้กับเด็กทุกคนได้หรือเปล่า

3. What resources do you need?

ต้องใช้สื่ออุปกรณ์อะไรบ้าง

4. How could you adapt this activity for different levels / language focuses?

จะปรับเปลี่ยนสร้างสรรค์กิจกรรมได้อย่างไร โดยพิจารณาจากความแตกต่างของผู้เรียน และเรื่องที่จะสอน

 

Teaching Vocabulary Technique

วิธีการสอน คำศัพท์

1. Convey the meaning of new word, using picture, mime, drawings.

2. Elicit the word from the learners.

3. Check understanding of the new word, ask concept-checking questions (CCQs).

4. Provide a clear oral model of the word.

5. Drill the pronunciation of the word in the whole class and then individually.

6. Write the new word on board indicating the word class and making the stress.

 

Error correction race Game

1. แบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น การแต่งประโยค กรอกข้อมูล เขียนเรื่อง หรือตอบคำถาม

2. ให้ทุกกลุ่มนำคำตอบมารวมกันในกล่องที่ครูจัดเตรียมไว้

3. เริ่มเล่นเกมโดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกผู้ที่จะวิ่งมาเอางานจากกล่องไปเพื่อให้เพื่อนในกลุ่มช่วยกันตรวจหาที่ผิด แล้วแก้ไข

4. นำงานที่ช่วยกันแก้ไขเรียบร้อยแล้ว วิ่งมาหาครูที่หน้าชั้นเรียนเพื่อให้ครูตรวจ หากยังไม่ถูกนำกลับไปช่วยกันคิดแก้ไขใหม่ในกลุ่ม แล้วนำมาให้ครูตรวจจนกว่าจะถูกต้อง

5. กลุ่มที่สามารถแก้ข้อผิดได้มากที่สุดจะเป็นกลุ่มที่ชนะ

 

หมายเหตุ ครูต้องสังเกตการทำงานกลุ่ม โดยใกล้ชิด ให้คำแนะนำ และพยายามแก้ไขข้อผิดพลาดของนักเรียนด้วยตั้งคำถามที่นำไปสู่คำตอบมากกว่า การให้คำตอบโดยทันที

ทั้ง 3 กิจกรรมนี้ เป็นเทคนิคและกิจกรรมที่ดิฉันใช้มากที่สุด แต่ยังมีอีกมากมายหลายอย่างที่ไม่สามารถนำมาบรรยายได้หมดในครั้งนี้ อย่างไรก็แล้วแต่ ทางทรูปลูกปัญญายังคงดำเนินโครงการนี้ต่อไป และยังรอคอยสมาชิกเพื่อนครูที่จะเข้ามารับความรู้ในส่วนนี้เพื่อนำไปช่วยกัน ขยายผลสู่เพื่อนครูและนักเรียนของเรา

 

ผลงานการสอน

- เด็กชายธีรภัทร เสนาะศัพท์ ได้รับเกียรติบัตรชนะเลิศ เหรียญทองในการแข่งขัน Impromptu speech ในระดับประเทศ ปีการศึกษา 2556 จัดโดยสถาบันภาษาอังกฤษ สพฐ.

- Kanmada Prommin received a certificate, first runner-up, gold medal, National Story Telling Competition 2013, organized by the Office of the Basic Education Commission.

ที่มา:  คลิกที่นี่http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/entertainment/19083